วิธีเพาะเห็ดปลวก(เห็ดโคน) จากจอมปลวก
ได้กินทั้งปี
วิธีการปลูกเห็ดปลวก เเละการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์จากปลวก
ตามคำเรียกร้องครับ
วัฏจักรชีวิตของปลวกอีกแง่มุมหนึ่ง
ที่สัมพันธ์พึ่งพากับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “เห็ดโคน”
ภายในรังปลวก จะมีสวนเห็ด (fungus
garden) ซึ่งเป็นที่ๆปลวกขับถ่ายเนื้อไม้เศษซากเซลลูโลส
ซึ่งผ่านกระบวนการเคี้ยวและการย่อยสลายไปเพียงบางส่วนในลำไส้ของปลวก
สวนเห็ดจะชุ่มไปด้วยความเปียกชื้นที่สูงมาก
มีเส้นใยสีขาวของเห็ดราเจริญเติบโตทั่วไปหมดตามภาพ ที่เห็นนั้นคือ
เส้นใยของเชื้อเห็ดราหลายชนิด รวมถึงเชื้อเห็ดโคนด้วย ที่ปลวกนำมาเพาะเลี้ยง
ปกติแล้วเชื้อเห็ดราที่เกิดอยู่ภายในสวนเห็ดของปลวกนั้น
มีเชื้อเห็ดปะปนกันอยู่หลายชนิด
เช่นเห็ดโคน, เห็ดก้านธูป
ฯลฯปลวกจะกินตุ่มเห็ด และเส้นใยเห็ดราบนสวนเห็ดนี้เป็นอาหาร
ดังนั้นในสภาวะปกติปลวกจำนวนมหาศาลภายในรังจะกินเห็ดราบนสวนเห็ดจนไม่มีโอกาสที่ตุ่มเห็ดจะเจริญเติบโตกลายเป็นไปดอกเห็ดได้ทันเลย
เมื่ออากาศอบอ้าวและร้อนจัด
ฝนตกหนักพื้นดินเปียกชุ่มและอ่อนตัว
มันเป็นฤดูอพยพย้ายรังของปลวกวรรณะสืบพันธุ์จำนวนมากนับแสนนับล้านตัว
กลายร่างเป็นแมลงเม่าโบยบินออกไปจากรังปลวก
ประชากรปลวกภายในรังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ปลวกที่เหลือกินเชื้อเห็ดราไม่ทัน
ตุ่มเห็ดภายในรังปลวกจึงมีโอกาส
เจริญเติบโตงอกทะลุขึ้นมาเหนือพื้นดินที่อ่อนนุ่มนี้ได้
มันช่างเป็นช่วงจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่ธรรมชาติจัดให้เพราะพื้นดินอ่อนนุ่มและชื้นแฉะ
ซึ่งถ้าดินแห้งแข็งก็ไม่มีทางเลยที่เห็ดโคนจะแทงทะลุขึ้นมาขยายพันธุ์ได้
เมื่อดอกเห็ดโคนบานเหนือพื้นดินมันจะปลดปล่อยสปอร์ขนาดเล็กๆฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ
ไกลออกไป ปลิวตกลงบนซากใบไม้ เนื้อไม้ผุๆ แมลงเม่าเจ้าชาย
และเจ้าหญิงที่เพิ่งสลัดปีกและจับคู่ผสมพันธุ์กันสร้างอาณาจักรใหม่ที่เกิดบนดินเปียกแฉะ
อาณาจักรแรกเริ่มที่มีขนาดเพียงไม่กี่ตารางเซ็นติเมตร
มันจะเริ่มออกหาอาหารไปคาบเศษซากใบไม้
ซากเนื้อไม้ซึ่งก็จะมีสปอร์ของเห็ดโคนปะปนติดอยู่ด้วย
นำกลับมาสร้างเป็นสวนเห็ดขนาดเล็กๆ เพาะเลี้ยงเห็ด และแพร่พันธุ์เพิ่มประชากรปลวก
ขยายอาณาจักรให้ใหญ่โตเป็นจอมปลวก วนเวียนเป็นวัฏจักรไปไม่มีจบสิ้น
จำนวนจอมปลวกจึงทวีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าไม่มีศัตรูที่น่ากลัวอย่างมนุษย์ไปรุกรานมัน
ในธรรมชาติมีปลวกอยู่หลายชนิด
แต่ผมเคยเห็นปลวกชนิดนี้มีเห็ดโคนเกิดรอบๆ ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่
จึงเลือกใช้จาวปลวกจากจอมปลวกชนิดนี้ วิธีขุดใช้เสียบหรือจอบขุดเบาๆ ไม่ต้องลึกมาก
จะเจอจาวปลวกอยู่จำนวนมาก เราเก็บมาแค่เล็กน้อยไม่ถึงขั้นต้องทำลายจอมปลวกทั้งหมด
วิธีทำ
จาวปลวกเล็กน้อยประมาณหนึ่งกำมือ ต่อ ข้าวสวย 1 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ก่อนจะเติมน้ำเปล่าลงไปอีก 20 ลิตร ตามหลักวิทยาศาสตร์ ปลวกย่อยเซลลูโลสเองไม่ได้ ต้องอาศัยโปรโตซัว
และเชื้อราช่วย
เราก็ประยุกต์ขยายเชื้อเหล่านั้นมาช่วยย่อยเศษใบไม้ใบหญ้าให้มันสลายตัวเร็วขึ้นหมักไว้
๗ วัน จุลินทรีย์โปรโตซัวจะขยายตัวเป็นฝ้าสีขาว
เอารังปลวก 1 กำมือ
ผสมข้าว 1 กิโล เติมน้ำ 20 ลิตร
หมักใว้ในถัง วางในที่ร่มทิ้งใว้ 7-10 วัน
แล้วเอาไปราดลง จอมปลวกข้างบ้าน
หาฟางหรือใบใม้มาคลุม เสร็จแล้วให้รดน้ำพอชื้น
ประมาณ 10-15
วันก็จะมีเห็ดโผล่ขึ้นมา
ไม่ต้องรอเป็นปี ก็มีเห็ดปลวก(เห็ดโคน) มาให้กิน
การนำไปใช้
ใช้จุลินทรีย์จาวปลวกเอาใส่นา รดผัก ผลไม้
ให้ผสมน้ำให้ไก่กิน ก็ได้ผลดีคับ บางคนเอาไปรดบนโคนตันไม้
เค๊าบอกเกิดเห็ดโคนขึ้นมา
ใช้อัตราส่วนประมาณ 1 ลิตร
/น้ำ 10
ลิตรใช้ฉีดพ่นเพื่อย่อยสลายเศษวัชพืช(หมักทำปุ๋ยหมัก)
หรือย่อยสลายตอซังข้าวก่อนทำการไถประมาณ 7 วัน
หลังจากนั้นไถกลบ และหากจะนำไปรดโคนต้นเพื่อบำรุงพืชผลอื่นๆก็ได้เช่นกัน
ในอัตราส่วนข้างต้น ไม่ตายตัวสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน
การเพาะเห็ดโคนจากจุลินทรีย์ปลวก
นำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกนี้ ไปราดที่จอมปลวก
คลุมด้วยฟางข้าวหรือใบไม้ รดน้ำพอชื้น ประมาณ ๑๐ วัน ก็จะมีเห็ดโคนขึ้น
นำไปประกอบอาหารที่เป็นเห็ดโคนธรรมชาติไร้สารเคมี เป็นเมนูอาหารที่วิเศษมากครับ”
เห็ดโคน
หรือ เห็ดปลวก เป็นเห็ดใน genus (สกุล)Termitomyces ยกตัวอย่างเช่น Termitomyces fuliginosus ซึ่งชนิด (
species) นี้จะรสชาติดี และเป็นที่นิยมกินกันมากที่สุด
เห็ดโคนจะมีให้เรากินในช่วงเวลาไหน? ความจริงอยากจะตอบว่า จริงๆแล้วเห็ดโคนสามารถมีได้ทุกเวลาของปี
แต่จะมีเงื่อนไขสำคัญว่า
สภาพดินฟ้าอากาศจะต้องเอื้ออำนวยนั่นคืออากาศต้องร้อนอบอ้าวผิดปกติ
อย่างที่เรียกกันว่า ” ร้อนเห็ด ” มีฝนตกลงมาอย่างหนัก
และที่สำคัญคือจะต้องมีแมลงเม่า ( หรือเขียนผิดๆว่าแมงเม่า )
จำนวนมากบินออกมาจากรังปลวก การที่แมลงเม่าทิ้งรังทำให้
เห็ดโคนในรังปลวกเหลือเพียงพอที่จะแทงทะลุดินออกมาให้เราได้กินกัน
จากเงื่อนไขที่ปลวกทิ้งรังข้างต้นนี้ เราจึงพบว่าเห็ดโคนส่วนใหญ่จะออกในฤดูฝน
แต่ในฤดูหนาวเดือนธันวาคมก็ยังพบว่ามีเห็ดโคนบางชนิด
เช่นแถวจังหวัดนนทบุรีจะมีเห็ดโคนข้าวตอกซึ่งเป็นเห็ดโคนขนาดเล็กออกมาให้เรากินกัน
แต่อย่างไรก็ตามจะมีเห็ดโคนออกมามากในช่วงเทศกาลกินเจคือเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี
การพยายามเพาะเห็ดโคน มีมานานมากแล้ว
ย้อนหลังไปไม่ต่ำกว่า 40 ปี
สมัยแรกถึงขั้นทะลายรังปลวกมากมาย นำมาศึกษาในห้องทดลอง ด้วยสมมุติฐานต่างๆ
รวมทั้งมีบริษัทห้างร้านที่ให้เงินทุนวิจัย
ด้วยหวังว่าถ้าสำเร็จก็จะนำมาซึ่งความร่ำรวยอย่างมหาศาล แม้ในปัจจุบันนี้
สมมุติฐานแทบทุกชนิดก็ถูกนำมาทดลองจนหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก๊สในรังปลวก
มีผลต่อการกระตุ้นเส้นใยเห็ดหรือไม่
เพราะภายในรังปลวกจะมีแก๊สมีเทนในปริมาณที่เหมาะสมจำนวนหนึ่ง ทดลองถึง อุณหภูมิ
ความดัน สารละลายในรังปลวก ฯลฯ
ในสมัยปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ถึงขั้นพยายามตัดต่อหน่วยพันธุกรรม( DNA ) ของเห็ดโคน เพื่อจะเพาะเลี้ยงมันขึ้นมาเองให้ได้
จนแล้วจนรอดก็ยังทำไม่สำเร็จ จนบางคนทนไม่ไหวขุดรังปลวก นำมาไว้ข้างบ้าน
นำอาหารมาเลี้ยงดูปลวกเช่นใบไม้แห้ง กิ่งไม้แห้งเล็กๆ
เพื่อจะได้อาศัยกินเห็ดโคนเล็กๆน้อยๆ ในบางช่วงเวลาก็ยังดี และในที่สุดทุกวันนี้ พวกเราจะพูดสรุปกันว่า ”
ถ้าจะเพาะเห็ดโคน ก็ต้องเลี้ยงปลวกด้วย ” ว่าแต่อย่าเพาะเห็ดใกล้บ้านนะครับกลัวจะไม่เหลือเสาบ้าน
ฮาๆๆ ควรที่จะเพาะในป่านะครับ ด้วยชื่อเสียงความมีรสชาติอร่อยของเห็ดโคน
ภายหลังจึงมีคนสมองใส ได้นำเห็ดชนิดอื่น นำมาตั้งชื่อให้คล้ายเห็ดโคน
(แต่ไม่ใช่เห็ดสกุล Termitomyces ) นำออกมาวางขาย
ซึ่งมองในแง่ทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะเกษตรกรจะได้มีรายได้
ประเทศชาติมีเงินหมุนเวียน
ที่มา เกษตรสวนกระเเส
http://udon365.com/2015
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น